สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 ธันวาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,894 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,857 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,090 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,158 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,174 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 834 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,904 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 270 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,054 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 460 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,942 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 112 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 471 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,261 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,115 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 146 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.5250 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน (สูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564) ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้โดยเฉพาะหลังจากที่มีข่าวว่าอินโดนีเซียจะนําเข้าข้าวประมาณ 500,000 ตัน ภายในปี 2565 ขณะที่อุปทานข้าว
ในประเทศมีปริมาณจํากัด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 445-450 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 440-445 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งราคาข้าวเวียดนามขณะนี้สูงกว่าผู้ส่งออกรายอื่นๆ อย่างไรก็ตาม วงการค้าระบุว่า ผู้ซื้อข้าวจากจีนบางราย ได้เปลี่ยนไปซื้อข้าวราคาถูกจากปากีสถานและอินเดียแทนเวียดนามและไทย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 587,874 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2565 (เดือนตุลาคม 2565 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 713,546 ตัน มูลค่าประมาณ 341.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยในช่วง 11 เดือนของปีนี้ (มกราคม-พฤศจิกายน 2565) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 6.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำนักงานสถิติทั่วไปเวียดนาม (the Vietnam General Statistics Office (GSO)) รายงานว่า ณ กลางเดือนพฤศจิกายน 2565 เกษตรกรเวียดนามเก็บเกี่ยวข้าวตามฤดูกาลแล้วประมาณ 8.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.4 ของพื้นที่เพาะปลูก และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่ทางภาคเหนือเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 6.125 ล้านไร่ และทางภาคใต้เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 2.16 ล้านไร่ โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ปลูกข้าวตามฤดูกาลอยู่ที่ประมาณ 0.846 ตันต่อไร่ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.208 ตันต่อไร่ จากปีที่ผ่านมา และผลผลิตข้าวตามฤดูกาล ณ กลางเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ประมาณ 8.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 152,000 ตัน จากปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปี 2565 พื้นที่ปลูกข้าวฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว (autumn-winter rice crop) ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอยู่ที่ประมาณ 4.05 ล้านไร่ ลดลงประมาณ 0.44 ล้านไร่ จากปีที่ผ่านมา โดยเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน เกษตรกรบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว (autumn-winter rice) แล้วประมาณ 2.02 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.8 ของพื้นที่เพาะปลูก และลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา โดยในปี 2565 ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ปลูกข้าวในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว อยู่ที่ประมาณ 0.896 ตันต่อไร่ ลดลงประมาณ 0.16 ตันต่อไร่ โดยมีผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 3.63 ล้านตัน ลดลงประมาณ 390,000 ตัน จากปีที่ผ่านมา
ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เกษตรกรทางภาคใต้ได้เพาะปลูกข้าวต้นฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (winter-spring rice) แล้วประมาณ 1.925 ล้านไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 14 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บังกลาเทศ : บังกลาเทศประกาศลดภาษีนำเขา และอากรควบคุมสินคาข้าว
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศ โดยกระทรวงการคลังบังกลาเทศ ได้เผยแพรประกาศเลขที่ S.R.O. No-357-Law/2022 /138/Customs ว่าการลดหยอนชั่วคราวอัตราภาษีนำเขาสินคาพิกัด 1003.30.99 ชนิดสินคาข้าวนึ่งและขาวขาว (ขาวธรรมดาที่มิใชขาวหอม) โดยลดหยอนอัตราภาษีศุลกากร (Custom Duty) เหลือรอยละ 0 จากอัตราปกติร้อยละ 25 และอากรควบคุมสินคานำเขา (Regulatory Duty) เหลือรอยละ 5 จากอัตราปกติรอยละ 25 สงผลใหอัตราภาษีรวม (Total Tax Incidence) ของสินค้าพิกัดดังกลาวลดลงเหลือรอยละ 15.25 (จากอัตราภาษีรวมปกติรอยละ 62.50) การลดหยอนอัตราภาษีใหม่นี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 สาเหตุการลดภาษีนำเขา เนื่องจากบังกลาเทศตองการกระตุนใหภาคเอกชนนำเข้าข้าวจากตางประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณขาวในตลาดภายในประเทศ และตามราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศฉบับดังกลาวนั้น กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดใหผูนำเขาแตละรายที่ต้องการใชสิทธิลดหยอนภาษีตองสมัครเขาร่วมโครงการแจงปริมาณนำเขา ชวงเวลานำเขา และแจงขอใชสิทธิตอหนวยงานที่เกี่ยวของ
การลดหยอนภาษีนำเขาขาวของบังกลาเทศในชวง 3 เดือนแรกของป 2566 ตามประกาศฉบับนี้ จะเปนระยะสั้น แตบังกลาเทศจะมีการประกาศลดหยอนภาษีนำเขาขาวเปนชวงๆ ตามสถานการณในประเทศ ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสของผู้ส่งออกขาวนึ่งและขาวขาวไทยในการสงออกไปชวงชิงสวนแบงตลาดขาวจากอินเดียมากขึ้น โดยในป 2565 (ม.ค.-ต.ค.) บังกลาเทศนำเขาขาวนึ่งจากไทย มูลคา 9.64 ลานดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเปนสถิติมูลคาการนำเขาสูงสุดนับตั้งแต่ป 2561 และในสวนของขาวคุณภาพสูง เชน ขาวหอมมะลิไทย มีการนำเขามูลคาปริมาณไมสูงมากนัก โดยไดรับความนิยมบริโภคในรานอาหารของกลุมประชาชนบังกลาเทศที่มีรายไดสูง และชาวตางประเทศที่มาทำงานในบังกลาเทศ
ทั้งนี้ ผูสงออกที่สนใจสงออกขาวอาจตองพิจารณาสงออกขาวไปตลาดบังกลาเทศใน 2 ชองทาง ไดแก (1) ชองทาง
การซื้อขายตามปกติกับเอกชนบังกลาเทศที่ตองการนำเขาขาว และ (2) จากการเปดประมูลนำเขาขาวจากนานาชาติของรัฐบาลบังกลาเทศที่ประกาศออกมาเปนครั้งคราว ซึ่งในชองทางนี้ ผูสงออกจำเปนตองมีคูคาในบังกลาเทศเพื่อดำเนินการดานเอกสาร ผูสงออกสามารถติดตอสอบถาม สำนักงานสงเสริมการคาในตางประเทศ ณ กรุงธากา ที่อีเมล thaitcdhaka@gmail.com
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ฟิลิปปินส์
สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า นาย Raul Q. Montemayor ผู้จัดการ สมาพันธ์เกษตรกรอิสระ (The Federation of Free Farmers: FFF) เรียกร้องต่อประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ไม่ให้ขยายการบังคับใช้มาตรการปรับลดอัตราภาษีนําเข้าทั่วไป (MFN) สำหรับสินค้าข้าว เนื่องจากอัตราภาษีนําเข้า
ที่ลดลงไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 อดีตประธานาธิบดีโรดิโก ดูเตอร์เต ได้ลงนามในคําสั่งผู้บริหาร (Executive Order: EO) ฉบับที่ 171 ขยายระยะเวลาการปรับลดกำหนดอัตราภาษีนําเข้าทั่วไป สำหรับการนําเข้าข้าว เหลือร้อยละ 35 เทียบเท่ากับอัตราภาษีนําเข้าข้าวจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า จากเดิมที่เรียกเก็บปริมาณในโควตาร้อยละ 40 และนอกโควตาร้อยละ 50 โดยคำสั่ง EO ดังกล่าว จะหมดอายุการบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2565
ทั้งนี้ นาย Raul Q. Montemayor กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าการนําเข้าข้าวจากปากีสถานและประเทศอื่นๆ
นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำให้มีราคาถูกลง เนื่องจากอัตราภาษีนําเข้าที่ต่ำลง แต่ผู้บริโภคทั่วไปกลับไม่ได้รับประโยชน์ เนื่องจากการนําเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวเกรดพรีเมียม ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับประโยชน์ คือ ผู้บริโภคข้าวบาสมาติของอินเดีย ข้าวญี่ปุ่น หรือลูกค้าของร้านอาหาร/ภัตราคาร ระดับ 5 ดาว ที่เสิร์ฟข้าวคุณภาพเฉพาะ อย่างไรก็ตาม นาย Raul Q. Montemayor ยังคาดการณ์ว่า การนําเข้าข้าวจากปากีสถานอาจมีปริมาณลดลง เนื่องจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน รวมถึงประเทศอินเดียกําหนดให้มีการเรียกเก็บภาษีส่งออกข้าว ในอัตราร้อยละ 20 เพื่อให้แน่ใจว่าอุปทานข้าวยังคงมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
นาย Raul Q. Montemayor ได้เสนอให้รัฐบาลฟิลิปปินส์พิจารณาร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น กัมพูชา และเมียนมา เป็นต้น เพื่อพัฒนาการจัดการด้านอุปทานร่วมกัน ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีการปรับอัตราภาษีศุลกากร และรัฐบาลไม่ต้องสูญเสียรายได้จากจัดเก็บภาษีศุลกากร รวมทั้งยังช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้าของฟิลิปปินส์กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ทั้งนี้ ข้อมูลของกรมศุลกากรระบุว่า ประเทศต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีกว่าครึ่งพันล้านเปโซ เนื่องจากการปรับลดภาษีนําเข้าทั่วไปสำหรับสินค้าข้าวจากประเทศนอกอาเซียน นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า แม้ว่าฟิลิปปินส์จะคงอัตราภาษีนําเข้าทั่วไปเดิมที่ร้อยละ 50 ข้าวนําเข้าจากประเทศปากีสถานยังคงสามารถแข่งขันกับข้าวนําเข้าจากประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์
รายงานข่าวระบุเพิ่มเติมว่า หน่วยงาน Foundation for Economic Freedom ได้ยื่นคําร้องต่อคณะกรรมาธิการด้านภาษีของฟิลิปปินส์ (Tariff Commission) เพื่อขอให้พิจารณาขยายการบังคับใช้คำสั่ง EO 171 เฉพาะการปรับลด
อัตราภาษีนําเข้าทั่วไปสำหรับสินค้าเนื้อสุกร ข้าวโพด และถ่านหิน โดยระบุว่าอัตราภาษีนําเข้าที่ลดลงช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยภายใต้คำสั่ง EO ดังกล่าว ได้ปรับลดอัตราภาษีนําเข้าทั่วไปสินค้าเนื้อสุกร ในโควตา MAV เหลือร้อยละ 15 จากร้อยละ 30 ขณะที่การนําเข้าเนื้อสุกรนอกโควตา เหลือร้อยละ 25 ลดลงจากร้อยละ 40 สำหรับอัตราภาษีนําเข้าข้าวโพดในโควตา ปรับลดเหลือร้อยละ 5 จากร้อยละ 35 และนอกโควตาเหลือร้อยละ 15 จากร้อยละ 50 สำหรับอัตราภาษีนําเข้าถ่านหิน ปรับลดเป็นร้อยละ 0 จากร้อยละ 7 โดยคำสั่ง EO ดังกล่าวจะหมดอายุการบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2565 เช่นเดียวกับสินค้าข้าว
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.90 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.65
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 376.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,981.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 373.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,920.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 61.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,170.55 ล้านตัน ลดลงจาก 1,202.31 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 2.64 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 182.28 ล้านตัน ลดลงจาก 193.60 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 5.85 โดย บราซิล และอาร์เจนตินา ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เวียดนาม แอลจีเรีย มาเลเซีย เปรู โมร็อกโก ไทย สาธารณารัฐโดมิกัน สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 646.00 เซนต์ (8,890.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 630.00 เซนต์ (8,701.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 189.00 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.113 ล้านไร่ ผลผลิต 34.749 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.436 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 ร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.26 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 3.29 ล้านตัน (ร้อยละ 9.48 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.53 ล้านตัน (ร้อยละ 59.07 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.62 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.57 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.95
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.07 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.09
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.12 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.71 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.06
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,690 บาทต่อตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,730 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,850 บาทต่อตัน)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,900 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.000 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.180 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.382 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 27.64 และร้อยละ 27.71 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.67 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.38 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.88 บาท ลดลงจาก กก.ละ 31.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.74
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
นโยบายของอินโดนีเซียที่จะเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มในน้ำมันไบโอดีเซลมากขึ้น และมาเลเซียจะลดปริมาณน้ำมันปาล์มสำรอง คาดว่าจะเป็นตัวผลักดันราคาน้ำมันปาล์มในอนาคต โดยราคาน้ำมันปาล์มที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับราคาตันละ 3,500 – 5,000 ริงกิต นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 65 ถึงปัจจุบัน ซึ่งราคาที่ผันผวนเป็นผลจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซียและยูเครน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มได้ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน อยู่ที่ตันละ 3,918 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,825.49 ริงกิตมาเลเซีย (30.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,931.44 ริงกิตมาเลเซีย (31.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.69  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 983.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.36 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,025.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.10
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
             ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - แหล่งข่าวตลาดอินเดีย กล่าวว่า อินเดียยังคงทยอยส่งออกน้ำตาล 25% ของสัญญาส่งออกน้ำตาลทั้งหมด 6 ล้านตัน โดยกล่าวว่าโรงงานน้ำตาลกำลังรอให้ราคาส่งออกกลับไปอยู่ที่ 40 รูปี/กก. (0.48 เหรียญสหรัฐฯ/กก.) หรือมากกว่านั้นจากประมาณ 37-39 รูปี/กก. (USD 0.45-0.47/กก.) ซึ่งปัจจุบันเมื่อเทียบราคาน้ำตาลส่งออกกับราคาน้ำตาลในประเทศที่ 33 รูปี/กก. (0.40 เหรียญสหรัฐฯ/กก.) ซึ่งแหล่งข่าวในท้องถิ่นกล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำตาลในประเทศอยู่ภายใต้แรงกดดันเนื่องจากอุปสงค์ที่น้อยและอุปทานที่สูง



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,475.12 เซนต์ (18.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,466.88 เซนต์ (18.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.56
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 454.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.69 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 456.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.52    
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.84 เซนต์ (49.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 63.52 เซนต์ (48.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,847 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,984 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,411 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,426 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,009 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  102.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 104.64 คิดเป็นร้อยละ 2.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 105.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 99.98 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 96.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.36 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.38 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 348 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.72 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 393 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 392 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 368 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 430 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.46 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.07 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.54 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.81 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12 - 18 ธันวาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.14 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 81.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 146.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.56 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 160.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 155.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.31 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.88 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาทและปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.25 บาท